- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 เม.ย. 61
สับปะรด
ผลผลิต เพิ่มขึ้น
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม2561 ประมาณ 0.226 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.06 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.248 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.210 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 7.59 และลดลงจากปริมาณ 0.260 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 13.19
การส่งออก ลดลง
ปี 2561 (มกราคม-กุมภาพันธ์) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.308 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.368 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2560 หรือลดลงร้อยละ 16.51 โดยเดือนกุมภาพันธ์ส่งออกปริมาณ0.151 ล้านต้นสด ลดลงจาก 0.156 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.20 และลดลงจาก 0.189 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 20.10
ราคา ลดลง
ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาล มีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคา
รับซื้อลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 3.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.83 และลดลงจากกิโลกรัมละ 6.38 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 49.52
- สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 8.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 และลดลงจากกิโลกรัมละ 10.87 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 23.82
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.488
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.239 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.210 ล้านตัน ของเดือนมีนาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 20.10 และร้อยละ 20.48 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.74 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.76 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.88 บาท ลดลงจาก กก.ละ 19.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
แหล่งข่าวจากรอยเตอร์ รายงานว่าเดือนมีนาคม 2561 สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 รองจากอินโดนีเซียลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 2.32 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอินเดียผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกต้องการเก็บเป็นสต็อกก่อนจะถึงช่วงรอมฎอนที่จะมีขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนนี้ ถึงแม้อินเดียจะเพิ่มภาษีการนำเข้าถึงร้อยละ 14 เนื่องจากปี 2561 อินเดียขาดแคลนน้ำมันพืชถั่วเหลืองส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบมาทดแทนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มาเลเซียได้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปยังอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปจีนและปากีสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 และ 71 ตามลำดับ ขณะที่เดือนมีนาคมมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 สามารถดูดซับผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 รวมถึงในช่วงเดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคมผลผลิตปาล์มน้ำมันจะเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ ซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2561 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.3 เนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,471.43 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,401.64 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.91
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 672.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 677.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.35
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.78 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 355.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,989 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 353.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,924 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และเพิ่มขึ้น ในรูปของเงินบาทตันละ 65.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 388.76 เซนต์ (4,803 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 386.50 เซนต์ (4,776 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 27.00 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.70, 10.67 และ 1.06 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.52 ล้านตัน (ร้อยละ 9.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561) ปริมาณ 18.79 ล้านตัน (ร้อยละ 68.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.45 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.63
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.31 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.38
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.23 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.28
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.83 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.76
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,800 บาท
ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 548 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 16,963 บาท
ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 8 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 252 บาท
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.44 บาท สูงขึ้นจาก กก ละ 16.04 บาท ในสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 2.49
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,047.76 เซนต์ (12.08 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 1,029.95 เซนต์ ( 11.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.73
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 380.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.61 เซนต์ (21.86 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.96 เซนต์ (22.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.10
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์
ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดจากการที่ต่างประเทศมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,155 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,197 บาท บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,737 ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,724 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,370 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,144 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,411 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,143 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,372 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 39 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,805 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,372 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,338 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,712 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9537
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปินส์
ฟิลิปปินส์อนุมัตินำเข้าข้าวจำนวน 250,000 ตัน โดยวางแผนเปิดประมูลแบบ G to G จากประเทศไทยหรือเวียดนาม เพื่อเพิ่มปริมาณสต็อกข้าวที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 20 ปี ซึ่งเป็นเหตุให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ
3-4 ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ระดับราคาข้าวในประเทศ
ที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลต่อระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นใกล้เคียงร้อยละ 4.3 ในเดือนมีนาคม ซึ่งถือเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 5 ปี โดยการนำเข้าข้าวจำนวน 250,000 ตัน นี้จะช่วยเพิ่มระดับสต็อกข้าวของ NFA ที่จะทำการขายออกสู่ตลาดในราคาที่ถูกกว่า และรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ ทั้งนี้ การส่งมอบข้าวจำนวนดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
ที่มา : รอยส์เตอร์
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียคาดการณ์ว่า ในปี 2561 จะนำเข้าข้าวเพิ่มเป็น 1.3 ล้านตัน เนื่องจากต้องการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวและเพิ่มปริมาณข้าวในสต็อก โดยที่ผ่านมา BULOG ได้ตั้งเป้าการรับซื้อข้าวภายในประเทศในปี 2561 จำนวน 2.7 ล้านตันข้าวสาร แต่จนมาถึงเดือนมีนาคมมีการรับซื้อได้เพียงปริมาณ 650,000 ตันเท่านั้น การเผชิญปัญหาข้าวราคาแพงก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวและปริมาณข้าวในสต็อกที่มีไม่เพียงพอ ทำให้รัฐบาลประกาศนำเข้าข้าวปริมาณ 500,000 ตันในเดือนมกราคม โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาข้าวปริมาณ 261,000 ตัน ส่งถึงอินโดนีเซีย และรัฐบาลได้ประกาศขยายระยะเวลาการนำเข้าข้าวจำนวนที่เหลือออกไปจนถึงเดือนมิถุนายน
ทั้งนี้ USDA รายงานว่าปริมาณการบริโภคข้าวต่อหัวของชาวอินโดนีเชียลดลงประมาณร้อยละ 1.6 ต่อปี
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ประชากรหันไปบริโภคอาหารที่มีแป้งสาลีเป็นส่วนประกอบมากขึ้น โดยผู้มีรายได้ระดับ
ปานกลาง-ปานกลางระดับบนมีการบริโภคอาหารแบบตะวันออกมากขึ้น เช่น ขนมปัง พาสต้า จากเดิมที่บริโภคข้าว
ทั้ง 3 มื้อ เปลี่ยนไปบริโภคขนมปังหรืออาหารจำพวกเส้นเป็นอาหารเช้าแทน
ที่มา : World grain
ถั่วลิสง
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.10 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.15
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.93 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.38
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน